อาการน่าเป็นห่วง! อยู่ดีๆเท้าก็บวม…สัญญาณเตือน 7 โรคร้าย ที่ต้องรู้!


หากวันใดวันหนึ่งคุณเกิดสังเกตเห็นว่าเท้าของตัวเองบวมขยายขนาดขึ้น ขอให้รู้ไว้เลยว่าคุณกำลังมีปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับร่างกายอยู่ 1 ใน 7 ปัญหานี้เป็นจุดเปลี่ยนที่คุณจำเป็นต้องรีบหันมาใส่ใจตัวเองอย่างด่วน จะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาหาคำตอบกันเลยค่ะ

อาการเท้าบวมที่เกิดขึ้น เป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกได้ 7 โรค ดังต่อไปนี้
     
1. โรคไต สามารถสังเกตได้เวลาตื่นนอนหรือช่วงบ่ายๆ รวมถึงเวลาที่มีกิจกรรมในท่ายืนนานๆ โดยจะสังเกตได้ว่า รองเท้าที่เคยใส่จะคับขึ้น และเมื่อใช้นิ้วกดลงไปที่เท้าจะเกิดเป็นรอยบุ๋มขึ้น
     

2. โรคหัวใจ อีกหนึ่งสาเหตุของอาการขาบวม ก็คือการเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือโซเดียมและน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจเกิดได้จากโรคหัวใจบางชนิด อาการบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง ทำให้เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น
     


3. โรคตับ อาการบวมที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคนี้มักเกิดขึ้นในช่วงท้ายของโรค และพบได้บ่อยที่สุดในโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ อาการนี้จะเกิดร่วมกับอาการบวมน้ำ (ท้องมาน) โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะโปรตีนต่ำในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนชนิดอัลบูมิน ที่ทำหน้าที่สำคัญในการดึงน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือด
     
4. โรคหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน อาการนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่มีอาชีพยืนเป็นหลัก เช่น พนักงานขาย ครู พยาบาล จราจร แม่ครัว ช่างเสริมสวย เป็นต้น การยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานๆเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการขาบวม เท้าบวม และปวดขาได้อย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม การได้นั่งพักหรือนวดเบาๆ ก็สามารถทุเลาอาการปวดเมื่อยนี้ไปได้
     
แต่ถ้าอาการปวดขาที่เกิดจากการผิดปกติในการทำงานของหลอดเลือดดำ ทำให้การไหลเวียนของเลือดกลับสู่หัวใจไม่สะดวก จนเกิดการคั่งค้างของเลือดร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น รู้สึกเมื่อยล้า บวม ชา ร้อนวูบวาบ หรือมักเป็นตะคริวในเวลาอากาศเย็นหรือกลางคืน เป็นต้น อาการดังกล่าวอาจถือเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดดำที่ขาที่ต้องรีบรักษาโดยด่วย เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดดำ จนเกิดอาการเส้นเลือดขอด อักเสบ แผลเรื้อรัง หรืออาจเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
     

5. โรคเท้าช้าง คนที่มีอาการของโรคนี้เกิดมาจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายๆครั้ง ระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ อาการอักเสบจะเป็นๆหายๆอยู่ช่วงหนึ่ง และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวรตลอดชีพ และผิวหนังก็จะหนาแข็งขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้ต่อไป ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาก็จะบวมแดง และขาก็จะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆจนมีลักษณะใหญ่เกินกว่าปกติ
     
6. โรคติดเชื้อ
     
7. โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าต์ เอ็นอักเสบ พังผืดอักเสบ


.............................................
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก manager.co.th



ติดตามข่าวด่วน เกาะกระแสข่าวดัง บน Facebook คลิกที่นี่!(Like)

Share this :

Previous
Next Post »