ไม่เพียงแต่สิ่งมีชีวิตเท่านั้นที่มีเพศ แม้แต่พืช หรือผักพื้นบ้านอย่าตำลึงก็มีเพศเช่นเดียวกัน แล้วแกงจืดตำลึง ต้มเลือดหมูที่เรากินอยู่ล่ะ จะใช้ตำลึงเพศไหนกันแน่ แล้วเราจะดูยังไงว่าอันไหนคือ ตำลึงเพศเมีย อันไหนคือตำลึงเพศผู้ แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร ทำไมต้องแยกเพศ
"ตำลึง" ตามลักษณะทางพฤษศาสตร์นั้น เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีมือจับ เพื่อเกาะยึดหลัก ลำเถามีสีเขียว ใบจะเป็นใบเดี่ยวสลับกันไปตามเถา ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยตื้น ๆ ใบกว้าง 3-4 เซนติเมตร และแบ่งแยกเพศ
– โดยที่ใบของตำลึงตัวเมียจะมีลักษณะค่อนข้างมน ขอบใบจะหยักไม่มากเป็นลักษณะที่ตลาดต้องการ เก็บมารับประทานได้
– ส่วนใบของตำลึงเพศผู้จะมีลักษณะหยักเว้ามากกว่าใบเพศเมียและไม่นิยมนำมารับประทานเพราะอาจทำให้ท้องเสียได้เนื่องจากใบตำลึงตัวผู้มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย
ติดตามข่าวด่วน เกาะกระแสข่าวดัง บน Facebook คลิกที่นี่!(Like)