ใบเตย หรือใบเตยหอม เหมาะกับอากาศร้อน! สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ


ใบเตย หรือใบเตยหอม เหมาะกับอากาศร้อน! สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ ลดความดันโลหิตสูง ลดน้ำตาลในเลือดได้ มีฤทธิ์เย็นแก้ไข้ได้ดี

อากาศร้อนๆ หรือทำงานมาเหนื่อยๆ ออกกำลังกายเหนื่อยๆ หรืออยู่กลางแดดมานาน ให้หาน้ำใบเตยมาดื่ม จะช่วยดับกระหายคลายร้อนได้ดี เพราะใบเตยเป็นพืชฤทธิ์เย็น ทำให้ร่างกายเย็นลงรวดเร็ว มีกลิ่นหอมเย็นทำให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย ชูกำลัง บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ลดอัตราการเต้นของหัวใจ แก้อาการอ่อนเพลียของร่างกาย ปรับสมดุลในร่างกาย

สรรพคุณทางยา
- น้ำใบเตย วิธีทำ ใช้ใบเตย 10 - 15 ใบ ต้มในน้ำ 1 ลิตร หรือจะหั่นฝอย คั้นหรือปั่นผสมน้ำสุก 1 ลิตร จะได้ความหอมและสรรพคุณจากใบเตยมากขึ้น ผสมน้ำตาลก็ได้ ไม่ผสมก็ได้ ใส่น้ำแข็งก็ไม่ได้ใส่ก็ได้ดื่มเย็นๆ จะช่วยคลายร้อนได้ดี
- สารสกัดน้ำจากใบเตย ช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
- ใบเตย สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไข้ ดับพิษไข้ได้ ดับพิษร้อนภายในได้ดี
- ใบเตยใช้รักษาโรคหืดได้ โรคหัด
- ใบเตยสดนำมาตำให้ละเอียดพอกรักษาโรคผิวหนังได้
- ต้นและรากใช้เป็นยาแก้กระษัย
- ทำยาขับปัสสาวะ ใช้ทั้งต้น 1 ต้น ต้มกับน้ำดื่ม
- รากครึ่งกำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะ
- รากและต้น ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด วิธีทำคือ ใช้ราก 1 กำมือนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม ทุกเช้า-เย็น



ประกอบอาหาร
- ใช้แต่งกลิ่นอาหารคาวหวานได้หลากหลาย ทั้งขนมไทยๆ หรือขนมประเภทเบเกอรี
- ใส่ตอนข้าวหุงข้าวเจ้า ข้าวเหนียว จะให้กลิ่นหอมชวนกิน
- ใบเตยคั้นให้สีเขียวธรรมชาติ เป็นคลอโรฟิลล์ คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณนำมาแต่งสีขนม เช่น เปียกปูน ลอดช่อง ในปัจจุบันยังนำมาแต่งสีขนมเบเกอรีต่างๆ ด้วย ให้ทั้งสีสวย และกลิ่นหอม

ใบเตยเพื่อความงาม
นำใบเตย ปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียดเป็นครีมข้นเหนียว นำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 - 20 นาที เป็นทรีทเม้นท์สูตรบำรุงผิวหน้าให้เนียนใส ผิวพรรณสดชื่น ดูอ่อนกว่าวัย
ในใบเตยมีสารอะไรบ้าง

  • น้ำ 85.3 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 4.6 กรัม
  • โปรตีน 1.9 กรัม
  • ไขมัน 0.8 กรัม
  • กาก 5.2 กรัม
  • แคลเซียม 124 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม
  • เบต้า-แคโรทีน 2.987 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี 2 0.20 มิลลิกรัม
  • ไนอะซีน 1.2 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 8 มิลลิกรัม

ผลงานการวิจัย
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า เตยหอมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ จากการทดลองในห้องทดลอง นอกจากนี้ได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำ
น้ำต้มรากเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทดลอง เพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ จึงนับได้ว่าสมุนไพรเตยหอมเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าอีกชนิดหนึ่งสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มรับประทานเองได้



ติดตามข่าวด่วน เกาะกระแสข่าวดัง บน Facebook คลิกที่นี่!(Like)

Share this :

Previous
Next Post »